การบริการตรวจแก้ภาษาอังกฤษ

english-editing

ฝ่ายวิจัยมีบริการตรวจแก้ไขภาษาอังกฤษสำหรับงานวิจัยเพื่อช่วยให้งานวิจัยดีๆพร้อมออกสู่วารสารทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก เรามีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้บริการตลอดทั้งปี โดยมีรายละเอียดดังนี้

บริการตรวจแก้ภาษาอังกฤษ

  1.  บริการให้คำแนะนำเชิงคุณภาพ ในการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย (Manuscript) เพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิขาการระดับนานาชาติ
  2. การพิสูจน์อักษรและไวยากรณ์พื้นฐาน การแก้ไขการสะกด ไวยากรณ์เครื่องหมายวรรคตอนรูปกริยา นามคำกริยา และการจัดรูปแบบประโยค การแก้ไขเพื่อความชัดเจน ในรูปแบบประโยค เพื่อปรับปรุงขัดเกลาความชัดเจน มากขึ้น

คุณสมบัติของผู้รับบริการ

  1.  บุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ และ อาจารย์พิเศษของคณะฯ สังกัด สภากาชาดไทย
  2. มีความประสงค์จะส่งตีพิมพ์ บทความวิจัย (Manuscript) ในวารสารวิชาการะดับนานาชาติที่ปรากฎในฐานข้อมูล ISI/Scopus

ข้อกำหนดในการรับบริการ

  1. ท่านจะได้รับใบแจ้งหนี้ (invoice) สำหรับค่าใช้จ่ายในการตรวจแก้ภาษาฯ ตามอัตราที่กำหนดด้านล่าง โดยท่านจะได้รับแจ้งให้ทำการโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ตรวจแก้ภาษาฯเมื่อการตรวจแก้ภาษาเสร็จสิ้น และท่านจะได้รับใบสำคัญรับเงิน
  2. โปรดเก็บใบสำคัญรับเงินไว้ เนื่องจากใบสำคัญรับเงินนี้จะนำมาใช้สำหรับการเบิกเงินคืนจากมหาวิทยาลัย ตามอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยในการเบิกคืน ท่านจะต้องนำหลักฐานการส่ง manuscript ไปยังวารสาร (submission) พร้อมใบสำคัญรับเงินค่าตรวจแก้ภาษาอังกฤษที่ท่านได้รับในการยื่นส่งขอคืนค่าตรวจแก้ภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัย
  3. กรุณาเขียน affiliation ใน manuscript เป็น Faculty of Medicine, Chulalongkorn University และใน acknowledgement กรุณาเขียนว่าได้รับบริการการตรวจแก้ภาษาจาก English editing service, Research Affairs, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
  4. กรุณาแจ้งผลการตีพิมพ์ให้ฝ่ายวิจัยทราบ

การคิดค่าบริการและการชำระเงิน

ฝ่ายวิจัยฯ จะคิดอัตราค่าบริการตามหลักเกณฑ์ คือ

  • อัตราค่าบริการ: เฉพาะเนื้อหา และ Table คำละ 1.50 บาท (โดยไม่นับรวม Reference และ Figure)   (สามารถเบิกได้จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 7,000 บาท)

การสนับสนุนค่าใช้จ่าย

ฝ่ายวิจัยจะดำเนินการขอเบิกเงินสนับสนุน เมื่อท่านมีหลักฐานการส่ง manuscript ไปยังวารสาร (submission) แล้ว ในอัตรา ดังนี้

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสนับสนุนค่าใช้จ่าย เรื่องละไม่เกิน 7,000.-บาท พิจารณาตามหลักเกณฑ์ Research Clinic ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2564) (ทั้งนี้บทความที่ตีพิมพ์จะต้องอยู่ในฐานข้อมูล Scopus และ ISI เท่านั้น หากอยู่ใน ฐานข้อมูล PubMed อย่างเดียวจะไม่สามารถเบิกเงินค่าตรวจแก้ไขภาษาได้)
  2. ผู้รับบริการ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มในส่วนต่างที่เกินจากที่มหาวิทยาลัยสนับสนุน

 


การบริการที่มีให้เลือก

1.  บริการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งตรวจโดยตรง โครงการคลินิกวิจัย (Research Clinic)

โดยผ่านระบบ online (Username/Password ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

http://portal.research.chula.ac.th/ (มีคู่มือในเว็บไซด์ หรือสอบถาม คุณมณีรัตน์ ชื่นเจริญ โทร 02-2180238)

2.  บริการของคณะแพทยศาสตร์ ฝ่ายวิจัย /English Editing & Medical writer Service

สมัครขอรับบริการได้ที่ http://rsapp.md.chula.ac.th

ดาวน์โหลด > แบบฟอร์มยืนยันการขอตรวจแก้ภาษาอังกฤษ และชำระค่าบริการก่อนการตรวจ

รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน ดังนี้

  1.  Dr. Sranya Phaisawang  (view short bio)
  2.  Ms. Pirapon Ohata  (view short bio)
  3.  ดร.นพ.มโน เมตตานันโท เลาหวณิช  (view short bio)
  4.  พญ.พัชรินทร์ ประทีปรัตนะ  (view short bio)
  5.  Dr. Alain Jacquet  (view short bio)
  6.  Michael Ullman, Ph.D.  (view short bio)
  7.  Rhian Deborah Morgan  (view short bio)
  8.  อ.พญ.วรณัฐา วัชราทิตย์  (view short bio)
  9.  Paul Hatton  (view short bio)
  10.  Robin James Storer, Ph.D.  (view short bio)

ผู้ประสานงาน

คุณสุวิมล มั่นอินทร์ ฝ่ายวิจัย ตึกอานันทมหิดล ชั้น 3

โทร              0 2256 4455, 4466 ต่อ 16

อีเมล             mdcuresearch@chula.ac.th หรือ suwimol.m@chula.ac.th

ระบบการขอรับบริการ Online ได้ที่  rsapp.md.chula.ac.th  (เริ่มต้นการให้บริการ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป)

PowerPoint Presentation

 

3.  บริการของบริษัทเอกชนที่เป็น Contract กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : Edanz Expert English Editing

http://www.edanzediting.com/portal/chulalongkorn-university

 

4.  บริการของบริษัทเอกชนอื่น ๆ (ผู้วิจัยสามารถประสานและติดต่อเองโดยสะดวก)


 

การเบิกเงินคืน สำหรับค่าตรวจแก้ภาษาอังกฤษ

1. การสนับสนุนเงินค่าใช้จ่าย กรณีใช้บริการ English Editing Service ของฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ฝ่ายวิจัยจะดำเนินการขอเบิกเงินสนับสนุน เมื่อท่านมีหลักฐานการส่ง manuscript ไปยังวารสาร (submission) แล้ว ในอัตรา ดังนี้

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสนับสนุนค่าใช้จ่าย เรื่องละไม่เกิน 7,000.-บาท พิจารณาตามหลักเกณฑ์ Research Clinic ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2564)
  2. ผู้รับบริการ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มในส่วนต่างที่เกินจากที่มหาวิทยาลัยสนับสนุน

2. การสนับสนุนเงินค่าใช้จ่าย กรณีใช้บริการจากบริษัทเอกชนหรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสนับสนุนค่าใช้จ่าย เรื่องละไม่เกิน 7,000 บาท พิจารณาตามหลักเกณฑ์ Research Clinic ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประกาศ

แบบฟอร์ม

ประสานงาน

  • ฝ่ายวิจัย คณะแพทย์ฯ ติดต่อ คุณณพวิทย์ มณี (คุณกบ) โทร 02- 2564466 ต่อ 22
  • คลินิกวิจัย จุฬาฯ ติดต่อ คุณมณีรัตน์ ชื่นเจริญ โทร 02-2180238

Check Plagiarism (Turnitin)

Turnitin เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ตรวจสอบการคัดลอกผลงานการเขียนทางวิชาการ พร้อมทั้งชี้แหล่งข้อมูลที่ปรากฏซ้ำเป็นแถบสี และแสดงระดับเปอร์เซ็นต์การเทียบซ้ำ (Similarity index) โดย อาจารย์และนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถเข้าไปใช้บริการโปรแกรม ได้ที่ http://www.car.chula.ac.th/turnitin.php