ศูนย์จุฬายีนโปร (GenePro)
ศูนย์จุฬายีนโปรเป็นศูนย์วิจัยโมเลกุลที่เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรามุ่งมั่นค้นคว้าเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้
การให้บริการ
ศูนย์จุฬายีนโปรเปิดให้บริการตรวจการกลายพันธุ์ในยีนมะเร็งชนิดต่าง ๆ เพื่อการวินิจฉัยและประเมินโอกาสการตอบสนองต่อยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อให้แพทย์ และผู้ป่วยมีข้อมูลประกอบการรักษาที่ดีที่สุด ตัวอย่างการตรวจยีนที่เรามีให้บริการ ได้แก่ การตรวจ EGFR mutation ทั้งในเนื้อเยื่อมะเร็ง และในกระแสเลือด เพื่อดูการตอบสนองกับยา tyrosine kinase inhibitor (TKI) ในมะเร็งปอดชนิด non-small cell lung cancer (NSCLC), การตรวจ RAS mutation เพื่อดูการตอบสนองต่อยา anti-EGFR ในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะลุกลาม (advanced colorectal cancer) และการตรวจ BRAF mutation เพื่อดูการตอบสนองต่อยา BRAF inhibitor ในมะเร็งผิวหนังชนิด malignant melanoma เป็นต้น
นอกจากนั้นศูนย์จุฬายีนโปรยังเปิดให้บริการตรวจยีนด้วยเทคนิค Next Generation Sequencing (NGS) ซึ่งเป็นการตรวจกลายพันธุ์แบบทั้งยีน (whole gene sequencing) หรือกลุ่มยีนที่สนใจ (target genes sequencing) เพื่อให้แพทย์ และผู้ป่วยได้รับข้อมูลการรักษาที่ครอบคลุม และแม่นยำมากขึ้น ตัวอย่างการตรวจยีนมะเร็งด้วยเทคนิค NGS อาทิ การตรวจ BRCA1 and BRCA2 mutation เพื่อประเมินความเสี่ยงของผู้มีประวัติครอบครับเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ หรือตรวจเพื่อประเมินการโอกาสการอบสนองต่อยา PARR inhibitor ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ เป็นต้น
นอกเหนือจากการตรวจการกลายพันธุ์แล้ว ศูนย์จุฬายีนโปรมีบริการตรวจ microsatellite instability (MSI) ในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการให้ยา 5-fluorouracil chemotherapy (5FU) หรือตรวจร่วมกับกลุ่มยีน mismatch repair ในการวินิจฉัยโรค Lynch syndrome ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำ genetic counseling กับผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วยต่อไปในอนาคต นอกจากการตรวจ biomarker ของโรคมะเร็งที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ศูนย์จุฬายีนโปรยังมีบริการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ของเนื้องอกสมอง (brain tumor) ซึ่งพบไม่บ่อยและยังไม่มีการให้บริการตรวจที่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย ตัวอย่างการตรวจมะเร็งสมองที่ให้บริการ ได้แก่ การตรวจ MGMT promoter methylation เพื่อดูการตอบสนองต่อยา Temozolomide และการตรวจ 1p/19q/10q LOH, TERT promoter, IDH1/2, TP53 mutation เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจำแนก glioma ชนิดต่าง ๆ เพื่อการรักษา และการพยากรณ์โรคที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
เครื่องมือ
High throughput equipment and technology
- MiSeq & MiniSeq Sequencing System
- Next Generation Sequencing (NGS) technology
- nCounter® Dx Analysis System with FLEX
- Digital color-coded barcode technology
- MassARRAY® System – Mass Spectrometry Technology
Molecular equipment
- cobas Z480 and Applied Biosystems 7500 Fast
- Real-time PCR technology
- QIAxcel advanced system
- Capillary electrophoresis (CE) technology
- 3130 Genetic Analyzer
- Fluorescence-based capillary electrophoresis (CE) technology
- Mastercycler® pro and VeritiTM Thermal cycler
- Polymerase chain reaction (PCR) technology
คำถามที่พบบ่อย
1. รูปแบบการให้บริการ ราคา และระยะเวลาการดำเนินการ
สามารถดูรายละเอียดได้ใน request form ทั้ง 2 รูปแบบ
1) Request form (click for download)
2) NGS Request form (click for download)
2. การส่งตัวอย่าง
สามารถศึกษารูปแบบตัวอย่างที่เหมาะสมกับการตรวจยีนแต่ละรายการได้ใน request form ของศูนย์จุฬายีนโปร ซึ่งรายละเอียดการตรวจแต่ละประเภทจะใช้ตัวอย่างที่แตกต่างกัน ได้แก่
- ตัวอย่าง fixed tissue: ประกอบด้วย 1) FFPE block 2) H&E slide และ/หรือ 3) Cytology slide ให้นำส่งพร้อมกับ pathology report ที่อ้างอิงถึงรหัสของตัวอย่าง tissue นั้น
- ตัวอย่างเลือด: เจาะเลือด >3 ml เก็บใน K2EDTA collection tube จำนวน 2 หลอด
- ตัวอย่าง plasma: ให้ศึกษารายละเอียดการเก็บ plasma และวิธีการขนส่งในเอกสารคู่มือการเก็บ plasma สำหรับการส่งตรวจ EGFR mutation ใน cell-free DNA (click for download)
- อื่น ๆ: ได้แก่ pleural fluid และ fresh tissue ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ของทางศูนย์จุฬายีนโปรก่อนการดำเนินการส่งตัวอย่าง เนื่องจากมีวิธีการขนส่งแบบเฉพาะ และมีผลต่อคุณภาพของ DNA ที่จะใช้ในการตรวจวิเคราะห์
3. สิทธิการเบิกจ่าย
ผู้ป่วยที่มีสิทธิในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ โดยสามารถใช้สิทธิ์ในการตรวจตามใบสั่งจากแพทย์ผู้รักษา ซึ่งมีวิธีการดำเนินการตามสิทธิ์ประเภทต่าง ๆ ดังนี้
- สิทธิข้าราชการเบิกตรง: ผู้ป่วยสามารถติดต่อแจ้งสิทธิกับฝ่ายการเงิน (อาคาร อปร. ชั้น 1)
- ผู้ป่วยที่มีสิทธิประกันสังคม และสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรพ.จุฬาลงกรณ์ฯ: ผู้ป่วยสามารถติดต่อเปิดสิทธิได้ที่ตึก ภปร. ชั้น 1 ช่องเบอร์ 14-15 ก่อนการส่งตรวจที่ศูนย์ฯ
- ผู้ป่วยที่มีสิทธิประกันสังคม และ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ถูกส่งตัวจาก รพ.อื่น: ผู้ป่วยสามารถติดต่อเพื่อขอเปิดสิทธิรพ.จุฬาลงกรณ์ฯ ที่ตึก ภปร. ชั้น 1 ช่องเบอร์ 1-5 ก่อนการส่งตรวจที่ศูนย์ฯ
- ผู้ป่วยที่มีสิทธิอื่นๆ: ผู้ป่วยสามารถสำรองจ่ายชำระค่าบริการตรวจวินิจฉัย และนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกได้สิทธิจากทางต้นสังกัด
4. ข้อแนะนำ
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อสงสัยในเรื่องสิทธิการเบิกจ่าย สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ของศูนย์จุฬายีนโปรก่อนดำเนินการส่งตรวจ และจ่ายเงิน (ห้อง 901/16 ชั้น 9 อาคาร อปร. รพ.จุฬาฯ หรือ ติดต่อที่หมายเลข 0 2256 4000 ต่อ 3638 หรือ 063 241 9289)
ร่วมงานกับเรา
ตำแหน่งที่เปิดรับ ได้แก่
- นักวิจัย วุฒิปริญญาเอก
- ผู้ช่วยนักวิจัย วุฒิปริญญาโท
- นักเทคนิคการแพทย์ วุฒิปริญญาตรีขึ้นไป
สามารถส่ง resume มาที่ E-mail: chulagenepro@gmail.com
ติดต่อเรา
LINE id chulagenepro
Facebook Chula GenePRO Center
โทร 0 2256 4000 ต่อ 3638 หรือ 063 241 9289
อีเมล chulagenepro@gmail.com
ศูนย์จุฬายีนโปร
ห้องปฏิบัติการ 901/16 ชั้น 9 อาคาร อปร. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
1873 ถนนพระราม 4 แขวงพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330