การบริการตรวจแก้ภาษาอังกฤษ
ฝ่ายวิจัยมีบริการตรวจแก้ไขภาษาอังกฤษสำหรับงานวิจัยเพื่อช่วยให้งานวิจัยดีๆพร้อมออกสู่วารสารทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก เรามีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้บริการตลอดทั้งปี โดยมีรายละเอียดดังนี้
บริการตรวจแก้ภาษาอังกฤษ
การพิสูจน์อักษรและไวยากรณ์พื้นฐาน การแก้ไขการสะกด ไวยากรณ์เครื่องหมายวรรคตอนรูปกริยา นามคำกริยา และการจัดรูปแบบประโยค การแก้ไขเพื่อความชัดเจน ในรูปแบบประโยค เพื่อปรับปรุงขัดเกลาความชัดเจน มากขึ้น
คุณสมบัติของผู้รับบริการ
- บุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ และอาจารย์พิเศษของคณะฯ สังกัดสภากาชาดไทย ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักวิจัยพันธมิตร
- มีความประสงค์จะส่งตีพิมพ์ บทความวิจัย (Manuscript) ในวารสารวิชาการะดับนานาชาติที่ปรากฎในฐานข้อมูล Scopus เท่านั้น
ข้อกำหนดในการรับบริการ
- ท่านจะได้รับใบแจ้งหนี้ (Invoice) สำหรับค่าใช้จ่ายในการตรวจแก้ภาษาฯ ตามอัตราที่กำหนดด้านล่าง โดยท่านจะได้รับแจ้งให้ทำการโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ตรวจแก้ภาษาฯ เมื่อการตรวจแก้ภาษาเสร็จสิ้น
- กรุณาเขียน Affiliation ใน manuscript เป็น Faculty of Medicine, Chulalongkorn University และใน Acknowledgement กรุณาเขียนว่าได้รับบริการการตรวจแก้ภาษาจาก English editing service, Research Affairs, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
- กรุณาแจ้งผลการ Submit หรือ Accept หรือ Publish ในระบบให้ฝ่ายวิจัยทราบ
การคิดค่าบริการและการชำระเงิน
ฝ่ายวิจัยฯ จะคิดอัตราค่าบริการตามหลักเกณฑ์ คือ
- อัตราค่าบริการ: เฉพาะเนื้อหา และ Table คำละ 1.50 บาท (โดยไม่นับรวม Reference และ Figure) (สามารถเบิกได้จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องละไม่เกิน 7,000.00 บาท)
การสนับสนุนค่าใช้จ่าย
เมื่อท่านส่ง Manuscript ไปยังวารสาร และหลักฐานการ Submit หรือ Accept หรือ Publish แล้ว สามารถขอเบิกเงินสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ https://myresearch.chula.ac.th/ โดยแนบหลักฐานการ Submit หรือ Accept หรือ Publish, Invoice (ใบแจ้งหนี้) และหลักฐานการชำระเงิน (ชื่อต้องตรงกับผู้ขอรับการสนับสนุน) ในอัตรา ดังนี้
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสนับสนุนค่าใช้จ่าย เรื่องละไม่เกิน 7,000.00 บาท พิจารณาตามหลักเกณฑ์ Research Clinic ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2564)
- ผู้รับบริการ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มในส่วนต่างที่เกินจากที่มหาวิทยาลัยสนับสนุน
การบริการที่มีให้เลือก
1. บริการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำความร่วมมือกับ บริษัท Enago เรื่องการให้บริการตรวจภาษาบทความต้นฉบับ โดยบริษัท Enago ยินดีมอบส่วนลดพิเศษ 40% จากราคาปกติแก่อาจารย์และนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.enago.com/univ/chulalongkorn/
2. บริการของคณะแพทยศาสตร์ ฝ่ายวิจัย /English Editing & Medical writer Service
สมัครขอรับบริการได้ที่ http://rsapp.md.chula.ac.th
ดาวน์โหลด > แบบฟอร์มยืนยันการขอตรวจแก้ภาษาอังกฤษ และชำระค่าบริการก่อนการตรวจ
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน ดังนี้
- Alain Jacquet (view short bio)
- Mano Laohavanich (view short bio)
- Michael Ullman (view short bio)
- Patcharin Prateepratana (view short bio)
- Paul Hatton (view short bio)
- Pirapon Ohata (view short bio)
- Rhian Deborah Morgan (view short bio)
- Robin James Storer (view short bio)
- Sranya Phaisawang (view short bio)
- Voranaddha Vacharathit (view short bio)
ผู้ประสานงาน
คุณณพวิทย์ มณี
ฝ่ายวิจัย ตึกอานันทมหิดล ชั้น 3
โทร 0 2256 4455, 4466 ต่อ 22
อีเมล nopphawit.med.chula@gmail.com
ระบบการขอรับบริการ Online ได้ที่ rsapp.md.chula.ac.th (เริ่มต้นการให้บริการ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป)
3. บริการของบริษัทเอกชนอื่น ๆ (ผู้วิจัยสามารถประสานและติดต่อเองโดยสะดวก)
การขอเบิกเงินสนับสนุนค่าตรวจแก้ภาษาอังกฤษ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กรณีใช้บริการ English editing service ของฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
- กรณีใช้บริการของบริษัทเอกชน/บุคคลภายนอก
สามารถขอเบิกเงินสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ https://myresearch.chula.ac.th/ โดยแนบหลักฐานการ Submit หรือ Accept หรือ Publish, Invoice (ใบแจ้งหนี้) และหลักฐานการชำระเงิน (ชื่อต้องตรงกับผู้ขอรับการสนับสนุน) ในอัตรา ดังนี้
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสนับสนุนค่าใช้จ่าย เรื่องละไม่เกิน 7,000.00 บาท พิจารณาตามหลักเกณฑ์ Research Clinic ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2564)
- ผู้รับบริการ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มในส่วนต่างที่เกินจากที่มหาวิทยาลัยสนับสนุน
ประกาศ
ผู้ประสานงาน สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ ติดต่อ
- คุณปฏิภาณ ดวงดี โทร 02-2180247
- E-mail: patipan.du@chula.ac.th
Check Plagiarism (Turnitin)
Turnitin เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ตรวจสอบการคัดลอกผลงานการเขียนทางวิชาการ พร้อมทั้งชี้แหล่งข้อมูลที่ปรากฏซ้ำเป็นแถบสี และแสดงระดับเปอร์เซ็นต์การเทียบซ้ำ (Similarity index) โดย อาจารย์และนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถเข้าไปใช้บริการโปรแกรม ได้ที่ http://www.car.chula.ac.th/turnitin.php