โครงการธนาคารชีววัตถุเพื่องานวิจัย

(The biobank establishment for research propose)

คณะกรรมการบริหารจัดการธนาคารชีววัตถุ (Biobank) ฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            หลักการและเหตุผลคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความก้าวหน้าในการพัฒนา  เทคโนโลยีด้านพันธุกรรมที่หลากหลาย  (-omics technology) ในการตรวจตัวอย่างทางชีววัตถุในผู้ป่วยโรคที่สำคัญ   ซึ่งการตรวจพบความผิดปกติหรือความหลากหลายทางพันธุกรรมดังกล่าว มีบทบาทสำคัญในทางคลินิกในการวินิจฉัย การพิจารณาการรักษาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และเพื่อการพยากรณ์โรคให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ดังนั้นการจัดเก็บเนื้อเยื่อ ส่วนประกอบของเลือด และสารคัดหลั่งจากอาสาสมัครจึงมีความสำคัญอย่างมาก และจำเป็นที่จะต้องพัฒนาฐานข้อมูลชีววัตถุที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางคลินิก เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาเครื่องหมายทางชีววัตถุที่มีส่วนสำคัญในการนำมาซึ่งองค์ความรู้ และพัฒนาการรักษาผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นต่อไปคณะกรรมการโครงการธนาคารชีววัตถุวางแผนที่จะรวบรวมตัวอย่างชีววัตถุเพื่อศึกษาโรคที่สำคัญที่พบได้บ่อยเป็นปัญหาสุขภาพ (Health Impact) หรือโรคที่มีความจำเพาะ พบได้ยาก (Academic Impact) มีความสำคัญทั้งทางด้านการศึกษาวิจัย ด้านสุขภาพของประชากร ต้องเก็บตัวอย่างเป็นระยะเวลานานก่อนเริ่มทำการศึกษาวิจัย โดยเก็บตัวอย่างจากอาสาสมัครกลุ่มผู้ป่วยและอาสาสมัครกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เป็นโรค ที่ได้ทำการตรวจ ติดตาม และรักษาทั้งในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อให้การจัดเก็บตัวอย่างชีววัตถุดังกล่าวได้เป็นไปอย่างเป็นระบบ มีการใช้ประโยชน์กับกลุ่มวิจัยให้ได้ประโยชน์สูงสุด คณะกรรมการโครงการธนาคารชีววัตถุได้ทำการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานในการเก็บตัวอย่างชีววัตถุ ฐานข้อมูลทางระบาดวิทยาและข้อมูลทางคลีนิกของอาสาสมัคร เพื่อให้การเก็บตัวอย่างชีววัตถุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากลทั้งแง่ของขั้นตอนการเก็บ การดูแลรักษาตัวอย่างชีววัตถุและสถานที่ที่เก็บตัวอย่างชีววัตถุ ธนาคารชีววัตถุจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานกลางซึ่งได้มีการเตรียมความพร้อมในการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตัวอย่างชีววัตถุที่อาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต  ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์คณะกรรมการโครงการธนาคารชีววัตถุจะพิจารณาโครงการที่เป็นนโยบายของคณะแพทยศาสตร์และโครงการจากทีมผู้วิจัยที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมการเก็บตัวอย่างชีววัตถุ ซึ่งจะต้องยื่นข้อเสนอโครงการและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารจัดการธนาคารชีววัตถุ ข้อมูลเพิ่มเติม

เอกสารต่างๆ

คำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารจัดการธนาคารชีววัตถุ (ฺBionank)

แบบฟอร์มการจัดตั้งคณะอนุกรรมการฌฉพาะโรคและขอเก็บตัวอย่าง

แบบฟอร์มการขอใช้ตัวอย่างชีววัตถุเสนอคณะอนุกรรมการ

แบบฟอร์มการขอใช้ตัวอย่างชีววัตถุเสนอคณะกรรมการบริหาร

ขั้นตอนการขอรับบริการ

ตัวอย่างการจัดตั้งคณะกรรมการจำเพาะโรค

เจ้าหน้าที่ธนาคารชีววัตถุ

       

น.ส.พิมพ์พิศา เกริกไกรสีห์                                 น.ส.วริศรา ขันธรักษ์

ผู้ประสานงาน คุณ สุวิมล มั่นอินทร์ โทรศัพท์ 0-2256-4455, 0-2256-4466 ต่อ 16  email: biobankmdcu@gmail.com